สถิติผู้เข้าชม
 ขณะนี้มีผู้เข้าใช้ 12
 ผู้เข้าชมในวันนี้ 2,930
 ผู้เข้าชมทั้งหมด 12,886,595
28 มีนาคม 2567
อา จ. อ. พ. พฤ ศ. ส.
     
10  11  12  13  14  15  16 
17  18  19  20  21  22  23 
24  25  26  27  28  29  30 
31             




               
 Webboard

สำหรับท่านใดที่ต้องการโพสข้อความติ-ชม ศูนย์ซ่อมสีรถที่ท่านไปเจอมา ขอความกรุณาโพสรูปภาพรถของท่านทุกครั้งเพื่อยืนยัน  และป้องกันไม่ให้ อู่สีถูกกล่าวหาเพียงฝ่ายเดียว 


                                                                                                                   

www.thaiwebber.com > สนทนาทั่วไป > วิธีใช้เกียร์ออโต้ อย่างปลอดภัย ถูกต้อง
  ผู้เขียน
 หัวข้อ : วิธีใช้เกียร์ออโต้ อย่างปลอดภัย ถูกต้อง (อ่าน 901)   
อาม
Guest
เมื่อ 12 ตุลาคม 2563 16:45 น.
หลายครั้งที่มักได้ยินข่าวอุบัติเหตุที่เกิดจากการเข้าเกียร์ผิด ด้วยความประมาทเพียงเล็กน้อยอาจนำไปสู่ความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินได้ สินมั่นคง ประกันรถยนต์ จึงมีคำแนะนำการใช้งานเกียร์ออโต้ ให้ถูกต้องปลอดภัยมาบอกกันดังนี้

เกียร์อัตโนมัติจะมีตำแหน่งต่างๆของเกียร์ในการขับเคลื่อนรถยนต์ดังนี้

- ตำแหน่ง P ใช้สำหรับจอดรถในตำแหน่งที่ไม่กีดขวางรถคันอื่นหรือจอดในบริเวณที่ลาดชัน

- ตำแหน่ง R ใช้ในการถอยหลัง เป็นตำแหน่งที่อันตรายมากที่สุด ให้เหยียบเบรกทุกครั้งที่เข้าเกียร์ เพื่อให้รถถอยหลังอย่างช้า

- ตำแหน่ง N เป็นตำแหน่งเกียร์ว่าง ใช้ในการหยุดรถชั่วคราวหรือจอดรถในตำแหน่งที่กีดขวางเส้นทางจราจร

- ตำแหน่ง D ใช้ในการขับขี่เพื่อเดินหน้ารถตามปกติ

- ตำแหน่ง 2 ใช้สำหรับการขับขี่ขึ้นทางลาดชันที่ไม่สูงมากนัก และสามารถใช้ความเร็วได้พอสมควร

- ตำแหน่ง L ใช้สำหรับการขับขี่ขึ้นทางลาดชันที่สูงมาก และต้องใช้ความเร็วต่ำ



เทคนิคการใช้งานเกียร์ให้ถูกต้องปลอดภัย มีดังนี้



1. สตาร์ทเครื่องยนต์ตำแหน่ง P หรือ N

ก่อนจะสตาร์ทควรมองให้แน่ใจก่อนการเคลื่อนตัวว่าใช้เกียร์ที่ต้องการได้ถูกตำแหน่งแล้ว ในตำแหน่ง P หรือ N



2. ใช้ความเร็วให้สอดคล้องกับพื้นที่หรือสภาพการจราจร

การขับด้วยความเร็วสูงในรถยนต์เกียร์อัตโนมัติมีผลต่อการใช้เบรก เนื่องจากการเชนจ์เกียร์ลงต่ำนั้นช่วยชะลอความเร็วได้ไม่ดีเท่ากับเกียร์ธรรมดา แรงเหนี่ยวรั้งจากอัตราทดของเกียร์อัตโนมัติเมื่อผู้ขับเชนจ์เกียร์ลงสู่เกียร์ต่ำไม่มากพอที่จะช่วยชะลอความเร็วให้ลดลงอย่างรวดเร็ว

โดยเฉพาะเกียร์ออโต้แบบ CVT เมื่อขับบนเส้นทางภูเขาสูงชัน ควรใช้เบรกเพื่อชะลอความเร็วควบคู่ไปกับการเชนจ์ตำแหน่งเกียร์ลงต่ำ อย่าเหยียบเบรกในลักษณะแช่ยาว เกียร์บางแบบมีเซ็นเซอร์คอยปกป้อง หากเชนจ์เกียร์ลงต่ำขณะที่ใช้ความเร็วสูงในลักษณะที่ไม่สัมพันธ์กันทั้งรอบเครื่องยนต์กับตำแหน่งของเกียร์ มันจะไม่ยอมลดเกียร์ให้



3. ขับลงเนินหรือขับเข้าโค้งกับเกียร์ออโต้

ใช้ความเร็วให้เหมาะสม หากไม่แน่ใจก็ชะลอความเร็วตามที่ป้ายบอก ใช้ความเร็วและเลือกเกียร์ให้เหมาะกับสภาพทาง ลงเนินก็ควรใช้เกียร์ต่ำ ความเร็วมีผลต่อการทรงตัวโดยเฉพาะทางลงเขาที่มีโค้งวกไปวนมา ใช้เกียร์ต่ำใช้เบรกช่วยลดความเร็วแต่ไม่ควรเหยียบเบรกแบบแช่เท้า เพราะเบรกจะไหม้เป็นอันตราย ควรจอดพักรถเพื่อทำให้อุณหภูมิของจานเบรกเย็นตัวลง ยิ่งบรรทุกมาหนัก หรือทางสูงชันมากๆ ยิ่งต้องระวัง



4. เผื่อระยะแซง

การใช้วิธีกดคันเร่งจนสุดเพื่อแซงหรือที่เรียกว่าคิกดาวน์ ต้องคำนึงถึงการเผื่อระยะที่จะใช้แซงให้ปลอดภัยไม่ก่อให้เกิดอันตรายกับรถรอบข้าง การเร่งความเร็วเพื่อแซงโดยเฉพาะในเกียร์ CVT กับเครื่องยนต์ที่มีความจุน้อยแรงม้าไม่เยอะนำไปสู่อุบัติเหตุรุนแรงถึงชีวิตมามากต่อมาก การลดเกียร์ลงต่ำเพื่อแซงด้วยการเลื่อนคันเกียร์ต้องระวังเรื่องของความเร็วที่ใช้อยู่ในขณะนั้นให้ดี



5. เมื่อติดไฟแดงนาน


เมื่อคาเกียร์ D เหยียบเบรกเอาไว้รอการเคลื่อนตัว เมื่อรถติดนานๆ จะทำให้เกิดความร้อนสะสมในระบบเกียร์ หรืออาจทำให้เกิดอุบัติเหตุจากความพลั้งเผลอขาที่เหยียบเบรกคลายน้ำหนักจนรถไหลไปชนท้ายรถคันข้างหน้า รถติดนานๆ ใส่เกียร์ N แล้วยกเบรกมือป้องกันรถไหล ช่วยลดอาการเมื่อยขา ไฟเบรกรถคุณก็ไม่ไปแยงตารถคันหลังด้วยหากขับในเวลากลางคืน



6. เหยียบเบรกทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์

การเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ว่าง ( N ) หรือ เกียร์จอด (P) ไปเป็นเกียร์เดินหน้า (D) หรือเกียร์ถอยหลัง (R) จำไว้ให้ขึ้นใจให้เหยียบเบรกก่อนทุกครั้งก่อนขยับเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ และ เมื่อต้องการขับถอยหลัง เหยียบเบรกจนรถหยุดนิ่งเสียก่อนค่อยเลื่อนคันเกียร์ดันเข้าตำแหน่งเกียร์ถอยหรือเกียร์ R ขับถอยหลัง และควรดูด้านหลังให้ดีก่อนว่ามีสิ่งใดอยู่ด้านหลังหรือไม่ เพราะอาจมีสัตว์เลี้ยง หรือ เด็กเล็กอยู่ด้านหลัง



7. ระวังเกียร์คร่อมตำแหน่ง P-R หรือ N-R

การเลื่อนคันเกียร์ไปมาระหว่างแต่ละตำแหน่ง มีระยะห่างกันก็จริง แต่ก็น้อยมากการคาคันเกียร์คร่อมอยู่ระหว่าง 2 ตำแหน่ง ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยไม่ว่าในช่วงสตาร์ทเครื่องยนต์หรือจะทำอะไรก็ตาม ควรแน่ใจเสมอว่าคันเกียร์อยู่ในล็อกของตำแหน่งที่ต้องการไม่คร่อมตำแหน่งอยู่



8. หากต้องจอดแล้วติดเครื่องยนต์ไว้ และต้องลงจากรถยนต์ โดยมีผู้อื่นอยู่ในรถยนต์ นอกจากควรดึงเบรกมือไว้และเข้าเกียร์ P ไว้ด้วย

ไม่ควรเข้าเกียร์ N ไว้ เพราะอาจมีเผลอมาดันมาเป็นเกียร์ D ได้



9. อย่าไว้ใจเบรกมือ

การใช้เบรกมือในรถยนต์ปกติ เมื่อเข้าเกียร์ค้างไว้ที่ D หรือ R โดยไม่แตะคันเร่งรถยนต์จะต้องไม่ไหล แต่ไม่มีความแน่นอนว่าเมื่อไรจะไหล ดังนั้นจึงไม่ควรไว้ใจเบรกมือ ควรคิดเสมอว่าแม้ดึงเบรกมือสุด แล้วรถยนต์ก็ยังอาจจะไหลได้

การทำประกันรถยนต์ จะช่วยคุ้มครองและลดความเสี่ยงได้หากเกิดอุบัติเหตุ เลือกทำประกันรถยนต์ชั้น 1 กับ สินมั่นคง มาเร็ว เคลมเร็ว ด้วยเบี้ยที่ไม่แพง โทร.1596 หรือ คลิก http://www.smk.co.th/PreMotor.aspx



Reply ตอบกลับกระทู้

ตัวหนา ตัวเอียง ตัวขีดเส้นใต้ ตัวขีดกลาง ชิดซ้าย กึ่งกลาง ชิดขวา รูปภาพ ลิ้งก์ ขนาดต้วอักษร สีต้วอักษร

    แนบไฟล์ :
(ขนาดไฟล์ไม่เกิน 2 MB.)
    ผู้เขียน : *
    E-mail : *
 ไม่ต้องการแสดง E-mail
    รหัสตรวจสอบ : Security Image
* กรุณากรอกรหัสที่อยู่ในรูป
Copyright © 2008 All Rights Reserved.by
thaiwebber.com