สถิติผู้เข้าชม
 ขณะนี้มีผู้เข้าใช้ 7
 ผู้เข้าชมในวันนี้ 1,165
 ผู้เข้าชมทั้งหมด 12,942,218
24 เมษายน 2567
อา จ. อ. พ. พฤ ศ. ส.
 
10  11  12  13 
14  15  16  17  18  19  20 
21  22  23  24  25  26  27 
28  29  30         
             




               
  เกร็ดความรู้
ไฟ zenon : ความเข้าใจผิด ที่อันตรายมหาศาล
[27 ธันวาคม 2553 16:24 น.]จำนวนผู้เข้าชม 4194 คน



             อธิบายเรื่องหลอดไฟZENON  ที่คุณซื้อมาหลอดล่ะ100กว่าบาท เนี้ย ที่จิงแล้วคือ"หลอด ฮาโดรเจน"ครับ
หลอดฮาโดรเจน เนี้ยมันจะร้อนกว่าหลอด H3,H4 แบบปกติที่ใช้กัน ถ้าใช้ไปนานๆโดยไม่มีดีเลย์ จะมีอาการอย่างที่กล่าวมาข้างต้น
ส่วน หลอดZENON ของแท้ ราคาหลักหมื่น ขึ้นไป จะมีความร้อนน้อยกว่าหลอกปกติ ในการติดตั้ง จะต้องมีกล่องรีเลย์โดยเฉพาะของหลอดZENONติดตั้งไว้ด้วย
ส่วนความสว่าง หลอดZENON จะสว่างกว่ามากครับว่ากันที่10000kเลยทีเดียว

คนอื่นที่อ่านต่อ ไม่มีใครเห็นว่ามันผิด ... 
ทั้งๆที่ผมเห็นเป็นอัีนตรายอย่างสูงมากด้วย
(ขออภัย และขอบคุณ น้องที่ตอบข้างบนนะ เปิดโอกาสให้ยกเอามาเป็นตัวอย่าง)

ที่ว่าเป็นเรื่องเข้าใจผิด ซึ่งอันตรายมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ เพราะ

1. หลอด xenon คือ หลอดที่ทำงานเหมือนไฟแฟลชถ่ายรูป แสงสว่างเกิดจากการอาร์คของไฟฟ้าข้ามขั้ว (ขั้วห่างกัน 5 mm) ผ่านแกสแรงดันสูง (2 bar)

 เทอร์โบอัดหนักๆ อัดกันที่แรงดัน 1.2-1.5 bar 
 พวกแข่งขันชิงสาว ชิงถ้วยรางวัลจะอัดกันที่ 2.4-2.5 bar ก่อนเครื่องกระจาย 

2. แกสในหลอด xenon เป็นแกสเฉื่อยชื่อ xenon (ถามเพื่อนๆที่เรียนเคมี จะรู้จักกันทุกคน) และมีแกสอื่นๆปนหลายอย่าง

3. ไฟที่ใช้จุดหลอด xenon ให้ทำงาน มีแรงดัน 12,000-18,000 volts! (แรงดัน สูงกว่าไฟที่อาร์คที่ขั้วหัวเทียนเสียอีก) เพราะแกสหรืออากาศปกติ ก็มีความต้านทานไฟฟ้าสูงมากๆ (เกือบอินฟินิตี้ .. ร้อยๆล้านโอห์มเลย) ยิ่งแกสในหลอด xenon ของเรา มีแรงดันสูง ยิ่งต้องใช้ไฟแรงสูงให้มันกระโดดข้ามได้
 ที่เรียกๆ กัน (ผิดๆ) ว่ากล่องรีเลย์ หรือ (เรียกถูกต้องว่า)กล่องบัลลาสท์ มีหน้าที่นี้แหละ ... แปลงแรงดันจากไฟแบต 12 volts ให้สูงถึงเกือบสองหมื่นโวลท์
 แต่เมื่ออาร์คเกิดแล้ว กล่องจะต้องลดแรงดันเหลือ 100-200 volts เพราะลำอาร์ค มีความต้านทานต่ำ (100 โอห์ม)
 เมื่อลำอาร์คเสถียร ให้แสงสว่างเต็มที่ ความต้านทานจะลดลงอีก กล่องจะต้องลดแรงดันลงอีก ไม่อย่างนั้น ไหม้แน่นอน

 การทำงานทุกอย่างที่ีว่ามา ต้องเสร็จภายใน 1-2 วินาที

 กล่องบัลลาสท์ดีๆ ถึงได้แพงระเบิด

    คำเตือน คำเตือน คำเตือน    

แรงดันไฟฟ้าในกล่องบัลลาสท์ เป็นไฟฟ้าแรงดันสูงมาก (20,000 volts) และมีพลังงานสูงมาก (200-300 joules) สามารถฆ่าคนถึงตายได้

4. เมื่อหลอดสว่างเต็มที่ แรงดันในหลอดจะสูงขึ้น 30-40 bar 
 อุณหภูมิในหลอด จะสูงประมาณ 1200 องศาซี 
 ความร้อนนี้ ลดลงไม่ได้ เพราะถ้าลดลง ลำอาร์คซึ่งเป็นพลาสมา จะดับทันที .. ถึงทำให้หลอด(ที่ใช้ในรถยนต์)มีขนาดใหญ่มากไม่ได้ 
 หลอดแบบนี้ ถ้าเป็นหลอดใหญ่ๆ จะใช้เป็นไฟส่องสว่างถนน (ไฟแสงจันทร์ ไฟโซเดียม ฯลฯ)

 หลอดถึงต้องมีซีลสองชั้น .. กันระเบิด

 หลอดธรรมดาๆ มีอุณหภูมิภายในแถวๆ 700 องศาซี
 และอุณหภูมิที่ผิวหลอดแก้ว ร้อยกว่าองศาเท่านั้น

4. ความสว่างของแสงที่ออก หน่วยวัดคือ L (ลูเมนส์ LUMENS) ไม่ใช่ K (Kelvin)
 K เป็นหน่วยวัดเปรียบเทียบ ว่าที่สว่างๆนั้น ให้สีเสมือนของที่กำลังร้อนที่กี่องศา K 
 เสมือนร้อนกี่ K นะ
 ไม่ใช่ร้อนเท่านั้นๆ K จริง

5. ถ้าไปดู website ของ บ.ที่ผลิตหลอด xenon ระดับยักษ์ใหญ่ จะพบความจริงที่น่าตกใจ ที่เหมือนกันหมด ทุกบริษัทพูดเหมือนกันหมด คือ

  หลอดซีนอนในรถยนต์ ยิ่งมีองศาสีสูง (K ยิ่งสูง) ความสว่าง (L) ยิ่งน้อย

  หลอด 10,000K สว่างไม่ถึง 1/2 ของหลอด 5,000K 
  xenon ของ BMW/MB (frost ice) มีค่าองศาสี แค่ 4300K เท่านั้น ... แต่ความสว่างแถวๆ 3,000-3,500L

 หลอดโรงงานยี่ห้อดังๆ มีองศาสีสูงสุด 6000K

 พวก 10,000-12,000K ... บ.ยักษ์ใหญ่ ไม่กล้าเอาผลิตใต้ชื่อตัวเอง ... กลัวโดนฟ้อง เพราะความสว่างแค่ 1,600-1,800L เท่านั้น

6. หลอดไฟมีไส้ธรรมดาๆ จะมีความสว่าง 1,200-1,500L และให้อุณหภูมิสีอยู่ที่ 2,800-3,200K
 หลอด superbright จะสว่าง 1,500-1,800L และให้สีเสมือนมีอุณหภูมิ 3,300-3,500K

 หลอดไต้หวันราคาถูกๆ จะสว่าง 1,800-2,000L โดยการเพิ่มขนาดของไส้หลอด ความต้านทานไส้ลดลง กินกระแสไฟฟ้ามากขึ้นเป็น 100-110w แทนที่จะเป็น 50/55w เหมือนหลอดธรรมดาๆ ... ไฟรถมีแรงดัน 12v หมายถึงกระแสไฟฟ้าไหลเข้าหลอด 10A แทนที่จะเป็น 5A

 จะมีรีเลย์ (ไม่ใช่ดีเลย์) หรือไม่ก็ตามที กระแสไฟฟ้าที่ไหลเข้ามากขึ้น (10A) จะทำให้ขั้วหลอดที่ไม่ดี (มีความต้านทาน) ร้อนจัดจนขั้วละลายได้

 จะมีรีเลย์ (ไม่ใช่ดีเลย์) หรือไม่ก็ตามที ... พลังงานไฟฟ้า ไม่ได้ถูกเปลี่ยนเป็นแสงสว่างทั้งหมด แต่กลายเป็นพลังงานความร้อน(สูญเปล่า)
 ความร้อนที่มากขึ้น เกินปกตินี้ จะทำให้ปรอทที่ฉาบไว้บนโคม ไหม้ หรือระเหย (หมอง)

 ความร้อนไส้หลอดที่มากเกิน จะทำให้ไส้ขาดเร็ว

7. หลอด xenon เก๊ (zenon, xenan ฯลฯ) เป็นหลอดมีไส้ธรรมดาๆ แต่ใช้สีเคลือบหลอด เพื่อให้แสงไฟที่ออก มีสีเสมือนกับว่า เป็นหลอด xenon แท้

 สีที่เคลือบ จะทำให้ความสว่างลดลง

 หลอด plasma blue ของ PIAA ราคาแพง เพราะผลิตโดยทำให้ตัวแก้วของหลอด มีสีน้ำเงินจางๆ (ผสม cobalt เข้าไปในเนื้อแก้ว)
 ความสว่างจึงลดลงน้อย ไม่เกิน 20%

 หลอดไต้หวัน หลอดจีนแดง หลอดโนเนม .. ใช้สีเคลือบราคาถูกๆ 
 การที่ความสว่างจะลดลง 40-50% จึงไม่ใช่เรื่องแปลก
 ดูเผินๆ เหมือนหลอดสว่างขึ้น เพราะเวลากลางคืน ตาคนเราไวต่อแสงสีน้ำเงินน้อย พอเห็นแสงสีน้ำเงินจ้าๆ จึงหลอกตัวเองว่า เห็นแสงสว่างมากๆ
 ถ้าไม่หลอกตัวเอง จะพบว่า ตอนกลางคืน ตาของคนเร็ว ไวต่อแสงสีแดง มากกว่าสีน้ำเงิน เป็นร้อยๆเท่า
 นอกจากจะไวกว่าแล้ว ยังพร่ามัวเพราะแสงสีแดง น้อยกว่าแสงสีน้ำเงิน เป็นร้อยๆเท่าเช่นกัน

 การใช้ของเก๊ ที่ให้แสงสว่างน้อยลง ให้แสงสว่างที่เห็นไม่ค่อยชัด ให้แสงสว่างที่ทำให้ตาพร่ามัวง่าย
 โดยคิดว่า มันสว่างกว่า ชัดเจนกว่า 
 อันตรายไหมหละ?   

8. หลอดไฟมีไส้ ทำงานโดยการเผาไส้หลอด (ด้วยกระแสไฟฟ้า) ให้ร้อนแดง ... ไส้หลอดจะระเหยออกไปบ้างเล็กน้อย
 ระเหยไปเคลือบที่ผิวหลอดด้านใน
 ใช้ไปนานๆ ไส้หลอดบางลง หลอดขาด
 หรือ ไส้หลอดยังไม่ทันบาง ไอโลหะเคลือบผิวหลอด จนแสงส่องผ่านน้อยลง (เหมือนฟิล์มปรอท)

 หลอดจึงบรรจุธาตุพวก halogen และแกสเฉื่อย ไว้เล็กน้อย
 เพื่อให้เกิด Halide cycle (กรุณาหาอ่านจาก google) ซึ่งทำให้กระบวนการที่ว่ามาข้างบน ไม่เกิดขึ้น

 แต่ถ้าไส้หลอดร้อนจัดเกินไป กระบวนการ halide cycle ทำงานไม่ทัน ... ไส้หลอดขาดพั้วะ!

 หลอด 100/110w ... สว่างจริง ขาดเร็วจริง

 เวลาเราเปลี่ยนหลอดไฟหน้า เราเปลี่ยนสองข้าง (ก็อยากแต่งซิ่งนี่นา หรือใครเปลี่ยนข้างนึง 50w อีกข้าง 100w?)

 เวลาขาด .. มันจะขาดไล่เลี่ยกันมาก
 เพราะอะไร?

 ถ้าใส่ relay แยก หลอดใครหลอดมัน ก็แล้วไป

 แต่ถ้าไม่ใส่ .. จะมีแรงดันตกคร่อมสูญหาย ในระบบสายไฟส่องสว่าง
 V = IR 
 ตอนที่หลอด 2 หลอดทำงาน V ตกคร่อม = (I1 + I2) * R 
 เนื่องจาก I1 = I2 ฉนั้นแรงดันตกคร่อมสูญหาย = 2*I*R
 แรงดันไปถึงขั้วหลอดคือ E - 2*I*R

 แต่เมื่อหลอดหนึ่งขาด ไฟตกคร่อมจะเหลือ I*R
 แรงดันไปถึงขั้วหลอดคือ E - I*R

 หลอดที่ปริ่มๆจะขาด โดนแรงดันเพิ่ม ถึงจะอีกนิดก็เหอะ ... ขาดไหมหละ?

 ถ้าใครเคยหลอดไฟหน้าขาดคู่พร้อมกัน ตอนขับที่ 90 กม/ชม. ... คุณจะขนหัวลุกยิ่งกว่าโดนผีหลอก 
 ถ้าไม่กลายเป็นผีไปเสียก่อน ...

เกร็ดความรู้
- เมื่อขับรถตกน้ำควรทำอย่างไรดี [27 ธันวาคม 2553 16:24 น.]
- อายุของยาง…เป็นเพียงตัวเลขหรือความเชื่อ? [27 ธันวาคม 2553 16:24 น.]
- ซื้อรถมือสองอย่างไรไม่ให้โดนย้อมแมว [27 ธันวาคม 2553 16:24 น.]
- 32 สุดยอดเทคนิคสำหรับผู้ใช้รถ [27 ธันวาคม 2553 16:24 น.]
- ติดสปอยเลอร์โก้เก๋ดีอย่างไร [27 ธันวาคม 2553 16:24 น.]
- อบอุ่นร่างกายให้กับรถยนต์ด้วยการ “วอร์มเบต” [27 ธันวาคม 2553 16:24 น.]
- รถป้ายแดง ต้องปฏิบัติตัวอย่างไร [27 ธันวาคม 2553 16:24 น.]
- มือใหม่หัดขับต้องทำอย่างไร [27 ธันวาคม 2553 16:24 น.]
- ออกรถใหม่ วันรับรถต้องเช็คอะไร [27 ธันวาคม 2553 16:24 น.]
- การกระตุกตัวถัง [27 ธันวาคม 2553 16:24 น.]
ดูทั้งหมด

  แสดงความคิดเห็น

ตัวหนา ตัวเอียง ตัวขีดเส้นใต้ ตัวขีดกลาง ชิดซ้าย กึ่งกลาง ชิดขวา รูปภาพ ลิ้งก์ ขนาดต้วอักษร สีต้วอักษร

ชื่อ: *
E-mail : *
ไม่ต้องการแสดง Email
รหัสตรวจสอบ : Security Image
* กรุณากรอกรหัสที่อยู่ในรูป

Copyright © 2008 All Rights Reserved.by
thaiwebber.com