สถิติผู้เข้าชม
 ขณะนี้มีผู้เข้าใช้ 7
 ผู้เข้าชมในวันนี้ 1,287
 ผู้เข้าชมทั้งหมด 12,965,526
3 พฤษภาคม 2567
อา จ. อ. พ. พฤ ศ. ส.
   
10  11 
12  13  14  15  16  17  18 
19  20  21  22  23  24  25 
26  27  28  29  30  31   
             




               
  เกร็ดความรู้
เกียร์ออโต้ ใช้อย่างไรจึงจะถูกวิธี
[27 ธันวาคม 2553 16:31 น.]จำนวนผู้เข้าชม 3435 คน

 
            ผู้ผลิตรถแทบทุกค่าย ต่างพากันใส่เกียร์อัตโนมัติไว้ให้เป็นทางเลือกของลูกค้า ที่ใช้งานส่วนใหญ่ในเมืองที่มีสภาพการจราจรหนาแน่น ทำให้การขับขี่มีความสะดวกสบายมากขึ้นกว่าเมื่อก่อนมาก เนื่องจากเท้าซ้ายไม่ต้องคอยเหยียบครัชให้วุ่นวายอีกต่อไป  เรามาดูวิธีการขับขี่เกียร์อัตโนมัติที่ถูกต้องและเป็นประโยชน์ต่อเกียร์และกระเป๋าของท่านกันดีกว่าครับ


1)การขับรถเกียร์ออโต้โดยทั่วๆไป ที่ไม่จำเป็นจะต้องใช้เทคนิคพิเศษแบบนักแข่งรถ ควรใช้เท้าขวาเพียงเท้าเดียวในการเหยียบคันเร่งเบรค ไม่ควรใช้เท้าซ้ายเหยียบเบรค

2) สำหรับท่านที่เพิ่งจะเริ่มขับรถ พยายามเบรคด้วยเท้าขวาเท่านั้น และเหยียบเบรคทุกครั้งก่อนสตารท์รถ เพื่อป้องกันอันตรายถึงแม้ตำแหน่งเกียร์จะอยู่ที่ตำแหน่ง(P)หรือ(N)ก็ตาม และเหยียบเบรคทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ว่าง( N ) หรือเกียร์จอด (P) ไปเป็นเกียร์เดินหน้า (D) หรือเกียร์ถอยหลัง (R) จำไว้ให้ขึ้นใจครับ รถหยุดนิ่ง เหยียบเบรคก่อนทุกครั้งก่อนขยับเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ครับ

3) ถ้าท่านเลื่อนคันเกียร์ออกจากตำแหน่งเดินหน้า (D) ไปเป็นตำแหน่งถอยหลัง (R) หรือเปลี่ยนจากตำแหน่งถอยหลัง (R) ไปเป็นตำแหน่งเดินหน้า (D) ควรให้รถหยุดสนิทให้เรียบร้อยก่อน หลายท่านขับแบบใจร้อนและผิดวิธี รถยังคงเคลื่อนที่อยู่ก็รีบเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ จะทำให้เกียร์มีอายุการใช้งานสั้น อย่าลืมว่า ค่าซ่อมหรือเปลี่ยนเกียร์ใหม่ในรถยนต์บางรุ่นมีราคาสูงมาก

4) ขณะที่รถวิ่งอยู่ไม่ควรเข้าเกียร์ตำแหน่ง (N)  เช่นเห็นไฟแดงข้างหน้าแต่ยังอีกไกล กลัวว่าจะไม่ประหยัดน้ำมัน ท่านจึงเข้าเกียร์ในตำแหน่ง (N) และปล่อยให้รถไหลไปจนถึงไฟแดง รถแทบทุกรุ่นในยุคปัจจุบันใช้ระบบหัวฉีดควบคุด้วยสมองกลที่ทันสมัย การจ่ายเชื้อเพลิงขึ้นตรงกับลิ้นปีกผีเสื้อ  ถ้าท่านยกเท้าออกจากคันเร่งลิ้นปีกผีเสื้อก็จะปิดทันที เซนเซอร์ลิ้นปีกผีเสื้อจะรายงานกล่องสมองกลที่ควบคุมระบบการจ่ายเชื้อเพลิง ให้หยุดทำการจ่ายน้ำมันทันที ไม่มีความจำเป็นที่ต้องปลดเกียร์ว่าง (N) แต่อย่างใด และยังเป็นผลเสียอย่างร้ายแรงต่อเกียรืของท่านอีกด้วย เนื่องจากรถยนต์ในขณะเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว เกียร์ที่อยู่ในตำแหน่ง(D) จะมีปั้มแรงดันสูง ส่งน้ำมันเกียร์เข้าไปหล่อลื่นอยู่ตลอดเวลา

แต่ปั้มน้ำมันของเกียร์อัตโนมัติจะทำงานน้อยลงเมื่อเกียร์ อยู่ในตำแหน่ง (N) เมื่อไม่มีแรงดันที่พอเพียงจะดันน้ำมันไปหล่อลื่นเกียร์อย่างเพียงพอ จะทำให้เกียร์ออโต้ของท่านร้อน และเกิดการสึกหรอเสียหายตามมา และด้วยสาเหตุนี้เองเวลารถที่ใช้เกียร์ออโต้เสียและจำเป็นต้องลากไปอู่จึงจำ เป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเติมน้ำมันเกียร์เพิ่มเข้าไปอีก เพื่อช่วยลดความร้อนของเกียร์ขณะที่ทำการลากจูง หรือถ้าหาน้ำมันเกียร์มาเติมไม่ได้ ควรยกให้ล้อที่ใช้ขับเคลื่อนให้ลอยพ้นพื้นถนนเนื่องจากระบบปั้มน้ำมัน เพาว์เวอร์ของระบบเกียร์อัตโนมัติหยุดทำงาน ไม่แนะนำให้ถอดเพลาสำหรับรถขับเคลื่อนล้อหลังเพระยุ่งยากและเสียเวลามากครับ ปัจจุบันนี้มีรถยก 6 ล้อ แบบสไลด์ออนสามารถนำรถทั้งคันขึ้นไปไว้บนกระบะหลัง สะดวกสบายและปลอดภัยต่อเกียร์อัตโนมัติและรถยนต์ราคาแพงของท่านครับ

5) การเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ 2 ต้องระมัดระวังเนื่องจากตำแหน่ง 2 จะมีอัตตราทดเฉพาะเกียร์ 1 และ 2 ซึ่งบริษัทผู้ผลิตต้องการทำให้ท่านเจ้าของรถใช้งานในกรณีที่ต้องการแรงบิด มากๆเช่นทางขึ้นเนินที่ค่อนข้างชัน หรือต้องการการหน่วงความเร็วของรถเอาไว้เช่นในขณะที่ขับรถลงเนินเขา(ENGINE BRAKE) หรือวิ่งบนเส้นทางที่คดเคี้ยว ลาดชันมากๆ ห้ามใช้ตำแหน่งเกียร์ 2 ในขณะที่ท่านขับรถด้วยความเร็วสูง เพราะจะทำให้เครื่องยนต์ใช้รอบเครื่องสูงตามไปด้วย จนเกินขีดจำกัดและก่อให้เกิดความเสียหาย และอาจลื่นไถลเนื่องจากเกิดแรงบิดมหาศาลมากระทำที่ล้อ ทำให้รถเสียการทรงตัวได้ครับ

6) ไม่ควรขับลากเกียร์ โดยทั่วไปการขับรถยนต์เกียร์อัตโนมัติ ตำแหน่งเกียร์จะอยู่ที่ (D) ระบบสมองกลที่ควบคุมเกียร์จะทำการสั่งงานให้ปรับเปลี่ยนเกียรให้ขึ้นลงตาม ความเหมาะสมและความเร็วของรถอยู่ตลอดเวลา บางท่านรู้มากใช้วิธีเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์โดยการเลื่อนคันเกียร์ขึ้นลงเองใน ขณะที่รอบเครื่องทำงานสูงสุดเพียงเพื่อหวังผลทางด้านอัตราเร่งแต่จะมีผลทำ ให้ผ้าคลัทช์ และระบบทอกค์คอนเวอร์เตอร์เกิดการสึกหรอเสียหาย และทำให้มีอายุการใช้งานของเกียร์อัตโนมัติสั้นลง

7) ไม่ขับแบบเปลี่ยนเกียร์ลงต่ำเอง(คิกดาวน์)บ่อยๆ  การขับในตำแหน่ง (D)ระบบสมองกลควบคุมเกียร์จะทำการคำนวนค่าของแรงต่างๆและปรับเปลี่ยนตำแหน่ง เกียร์ตามความเร็วของรถในขณะนั้นตลอดเวลาอยู่แล้ว การกดคันเร่งเพื่อเปลี่ยนเกียร์ลงต่ำหรือที่เรียกว่าคิกดาวน์ ไม่ควรทำบ่อยครั้ง หรือทำเท่าที่จำเป็นในการเร่งแซงให้พ้นเท่านั้น ถ้าท่านทำบ่อยๆ ผ้าคลัทช์ของเกียร์จะทำงานหนักและสึกหรอเร็วมากขึ้นครับ

 ควรมีสายพ่วงแบตตารี่ติดท้ายรถไว้ตลอดเวลา เนื่องจากรถยนต์เกียร์อัตโนมัติไม่สามารถเข็นด้วยความเร็วต่ำแล้วกระตุ กสตารท์ให้ติดเครื่องยนต์ได้เหมือนรถยนต์เกียร์ธรรมดา การเข็นรถเกียร์อัตโนมัติแล้วใช้วิธีกระตุกสตารท์ ต้องใช้ความเร็วอย่างน้อย 20กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งเข็นด้วยแรงคนเป็นไปได้ยาก และยังเสี่ยงกับความเสียหายต่อเกียร์ในขณะที่ทำการเข็นหรือลากอีกด้วย ควรตรวจสอบแบตตารี่ให้มีไฟพอเพียงต่อการสตารท์ทุกครั้งครับ

9) น้ำมันเกียร์อัตโนมัติหัวใจของการหล่อลื่นและยืดอายุการใช้งานของเกียร์รถ ท่านให้ยาวนาน จึงควรเอาใจใส่ตรวจสอบบ่อยๆ การตรวจเช็คระดับน้ำมันเกียร์ให้อยู่ในระดับที่ไม่ต่ำกว่าขีดที่ก้านวัด กำหนดหมั่นเปลี่ยนน้ำมันเกียร์ตามระยะทางทีแนะนำ ไม่มีเกียร์อัตโนมัติใดไม่ต้องการการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเกียร์ตลอดอายุการใช้ งานของรถตามที่มีหลายๆบริษัทผู้ผลิตรถยนต์โฆษณาชวนเชื่อให้รถยนต์ของตนดูทน ทานและแข็งแรงตามความเป็นจริงจากสภาพการจราจร อุณภูมิ และสภาพการขับขี่ เกียร์อัตโนมัติทุกยี่ห้อยังต้องการการดูแลแปลี่ยนถ่ายน้ำมันเกียร์ตามระยะ ทางที่ใช้ครับ

10) ตำแหน่งในเกียร์อัตโมติ
P)PARKING-เป็นตำแหน่งเกียร์ที่ใช้จอดในลักษณะเป็นที่เป็นทางไม่จอดขวางทางรถคันอื่นแล้วใส่ตำแหน่งเกียร์นี้ไว้
หรือจอดในทางที่มีลักษณะลาดชัน และใช้ในตำแหน่งสตารท์เครื่องยนต์

R) REVERSE-เป็นตำแหน่งเกียร์ถอยหลัง เหยียบเบรคทุกครั้งที่จะเข้าเกียร์ในตำแหน่งนี้  

N) NEUTRAL-เป็นตำแหน่งเกียร์ว่าง ใช้ในการตัดกำลังของเครื่องยนต์ที่ส่งลงมาสู่เกียร์ และใช้เป็นตำแหน่งสตารท์เครื่องยนต์

D) DRIVE-เป็นตำแหน่งเกียร์เดินหน้าและใช้ในการขับขี่ตามปกติ
โดยตำแหน่งเกียร์จะปรับเปลี่ยนเองตามคำสั่งของสมองกลที่ควบคุม
ยกเว้นรถยนต์บางรุ่นที่มีสวิทช์ปรับเปลี่ยนระบบเกียร์และผู้ใช้เปิดสวิทช์เพื่อใช้งานในการปรับตำแหน่งเกียร์ด้วยตัวเอง

2) เป็นตำแหน่งเกียร์เดินหน้า แต่จะมีอยู่แค่ 1 และเกียร์ 2 อยู่ในตำแหน่งนี้
ใช้เพื่อขับขึ้นลงทางที่มีเนินสูงชัน ทางที่คดเคี้ยวไปมา ที่ไม่สามารถใช้ความเร็วสูงได้

1) LOW-เกียร์ในตำแหน่งนี้ มีเพียงเกียร์ 1 เท่านั้น ใช้สำหรับงานหนักที่ต้องการกำลัง หรือรถติดหล่ม หรือทางขึ้น ลงเขาที่ชันมาก

เกร็ดความรู้
- เมื่อขับรถตกน้ำควรทำอย่างไรดี [27 ธันวาคม 2553 16:31 น.]
- อายุของยาง…เป็นเพียงตัวเลขหรือความเชื่อ? [27 ธันวาคม 2553 16:31 น.]
- ซื้อรถมือสองอย่างไรไม่ให้โดนย้อมแมว [27 ธันวาคม 2553 16:31 น.]
- 32 สุดยอดเทคนิคสำหรับผู้ใช้รถ [27 ธันวาคม 2553 16:31 น.]
- ติดสปอยเลอร์โก้เก๋ดีอย่างไร [27 ธันวาคม 2553 16:31 น.]
- อบอุ่นร่างกายให้กับรถยนต์ด้วยการ “วอร์มเบต” [27 ธันวาคม 2553 16:31 น.]
- รถป้ายแดง ต้องปฏิบัติตัวอย่างไร [27 ธันวาคม 2553 16:31 น.]
- มือใหม่หัดขับต้องทำอย่างไร [27 ธันวาคม 2553 16:31 น.]
- ออกรถใหม่ วันรับรถต้องเช็คอะไร [27 ธันวาคม 2553 16:31 น.]
- การกระตุกตัวถัง [27 ธันวาคม 2553 16:31 น.]
ดูทั้งหมด

  แสดงความคิดเห็น

ตัวหนา ตัวเอียง ตัวขีดเส้นใต้ ตัวขีดกลาง ชิดซ้าย กึ่งกลาง ชิดขวา รูปภาพ ลิ้งก์ ขนาดต้วอักษร สีต้วอักษร

ชื่อ: *
E-mail : *
ไม่ต้องการแสดง Email
รหัสตรวจสอบ : Security Image
* กรุณากรอกรหัสที่อยู่ในรูป

Copyright © 2008 All Rights Reserved.by
thaiwebber.com