สถิติผู้เข้าชม
 ขณะนี้มีผู้เข้าใช้ 5
 ผู้เข้าชมในวันนี้ 492
 ผู้เข้าชมทั้งหมด 12,947,628
26 เมษายน 2567
อา จ. อ. พ. พฤ ศ. ส.
 
10  11  12  13 
14  15  16  17  18  19  20 
21  22  23  24  25  26  27 
28  29  30         
             




               
  เกร็ดความรู้
การเลือกซื้อรถมือสอง
[19 พฤศจิกายน 2553 17:13 น.]จำนวนผู้เข้าชม 3541 คน

วันนี้ มีขั้นตอนการตรวจสภาพรถยนต์มือสองมาฝากเพื่อนสมาชิกทุกท่าน ปัจจุบัน หลายท่านหันมาใช้รถยนต์มือสองกันค่อนข้างมากเพราะมีราคาถูก และสามารถนำไปติดตั้งเชื้อเพลิงพลังงานที่นอกเหนือจากน้ำมันได้  รถมือสองจึงเป็นที่นิยมค่อนข้างมากในตลาดปัจจุบัน หากเพื่อนสมาชิกต้องการที่จะเลือกซื้อรถมือสอง ก็มีวิธีขั้นตอนการดูเบื้องต้นที่สามารถตรวจสอบได้ด้วยตนเอง ดังนี้

ขั้นตอนตรวจสภาพรถยนต์ 

-  การตรวจสภาพภายในรถยนต์อย่างละเอียดถี่ถ้วนจะสามารถบอกเราได้ว่า เจ้าของเดิมใช้รถคันนี้อย่างไร หาก ภายในถูกปล่อยปะละเลยนั้นย่อมหมายความว่าส่วนอื่นๆ ก็คงจะถูกปล่อยปะละเลยเช่นกัน สิ่งที่ควรได้รับการ ตรวจสอบภายในมีดังต่อไปนี้

-  เบาะที่นั่ง วัสดุหุ้มแผงประตู พรมปูพื้น เบาะที่นั่งจะบอกเราได้ว่ารถถูกใช้งานหนักเพียงใด ให้สังเกตุ ที่ความอ่อนยวบ หรือฉีกขาด หากเบาะที่นั่งถูกหุ้มไว้ควรสำรวจความเสียหายใต้สิ่งที่ห่อหุ้มด้วย โดยปกติเบาะที่นั่งด้าน คนขับจะอ่อนยวบมากที่สุด หากเบาะด้านคนนั่งเป็นเช่นเดียวกันแสดงว่า โดยปกติรถคันนั้นนั่ง 2 คน หากเบาะที่นั่งด้าน หลังมีสภาพยับเยินมาก ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า รถคันดังกล่าวอาจเคยเป็นรถแท็กซี่มาก่อน ในกรณีเบาะที่นั่งด้านหน้าและ ด้านหลังอ่อนยวบ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่ารถคันดังกล่าวใช้ในครอบครัวใหญ่ นอกเหนือจากเบาะที่นั่งแล้วควรสำรวจ วัสดุหุ้มแผงประตู และพรมปูพื้นและใต้พรมปูพื้นด้วยเช่นกัน

-  ทดสอบคันบังคับต่างๆ เช่นลองเหยียบคันเร่ง คันเหยียบเบรก คันเหยียบเกียร์ รู้สึกว่าฝืดหรือหลวมเกินไปหรือไม่ มีเสียงดังปกติหรือไม่ ก้านปัดน้ำฝนทำงานทุกตำแหน่งหรือไม่ ก้านปรับไฟสูง-ต่ำทำงานปกติหรือไม่ 

-  ตรวจสอบมาตรวัดระยะทาง โดยเฉลี่ยรถยนต์จะถูกใช้งานประมาณ 20,000-30,000 กิโลเมตรต่อปี ให้เอาจำนวนปีที่ใช้งานของรถคูณด้วยระยะทางใช้งานเฉลี่ยเปรียบเทียบกับมาตรวัดระยะทาง หากตัวเลข ต่ำผิดปกติ ให้สันนิษฐานว่าตัวเลขอาจถูกหมุนกลับหรือตัวเลขหมุนขึ้นรอบที่สอง ทั้งนี้ควรเปรียบเทียบ กับสภาพของรถยนต์และเครื่องยนต์ด้วย สิ่งหนึ่งที่พึงระลึกไว้เสมอคือรถที่ใช้งานในเมืองอาจมีอัตราการสึกหรอ ของเครื่องยนต์มากว่ารถที่ใช้งานทางไกล โดยอัตราประมาณ 3 ต่อ 1 เมื่อเปรียบเทียบกับระยะทางที่เท่ากัน เนื่องจากรถที่ใช้งานในเมืองต้องประสบปัญหาการจราจรติดขัด 

-  ตรวจการทำงานของอุปกรณ์และสัญญานเตือนต่างๆ บนแผงหน้าปัทม์ โดยเปิดสวิทช์กุญแจไปตำแหน่ง I ณ ตำแหน่ง นี้นาฬิกา วิทยุ-เทป พร้อมที่จะทำงาน บิดสวิทช์ต่อไปตำแหน่ง II ที่ฉีดน้ำล้างกระจกก้านปัดน้ำฝน ไล่ฝ้ากระจกหลัง พัดลมระบายความเย็นในรถยนต์ พร้อมที่จะทำงาน สัญญานไฟเตือนต่างๆ สว่างค้าง ยกเว้นสัญญานไฟเตือน รูปเครื่องยนต์ ABS, SRS จะสว่างชั่งครู่แล้วดับ บิดสวิช์กุญแจสตาร์ทเครื่องยนต์เมื่อเครื่องยนต์ติดสัญญานไฟ ต่างๆ จะดับ ยกเว้นสัญญานไฟบอกตำแหน่งเกียร์แบบอัตโนมัติ 

-  ตรวจสอบภายในลิ้นชักเก็บของ หาดูว่าคู่มือประจำรถและเอกสารสำคัญต่างๆ เช่นประกันภัย คู่มือจดทะเบียน อยู่หรือไม่เงื่อนไขการรับประกันยาวนานแค่ไหน หมดระยะเวลาประกันหรือยัง หากเราไม่ใช่ผู้ซื้อมือที่สองจริงๆ ก็อาจจะลองเก็บข้อมูลไปสอบถามเจ้าของรถมือแรกดูก็ได้ และหากตรวจสอบได้ว่าเป็นรถที่มาจากการเลหลัง หรือจากการประมูล (เนื่องจากถูกยึด) ให้พึงระลึกเอาไว้ว่าเหตุใดเจ้าของรถมือแรกถึงปล่อยให้ถูกยึด ที่สำคัญ ต้องตรวจสอบหมายเลขตัวถังรถ และหมายเลขเครื่องยนต์ว่าตรงกับในเอกสารประจำรถหรือไม่ หากไม่ อาจ แสดงว่าเป็นรถขโมยมา หรือมาจากการประกอบรถสองคันเข้าด้วยกันก็ได้ 

-  พิสูจน์กลิ่นภายในรถยนต์มีกลิ่นดินโคลน หรือกลิ่นสาบอาจหมายถึงมีรอยรั่วผุของห้องโดยสาร หรือที่แย่กว่านั้น ก็อาจเคยจมน้ำมาก่อน ให้เลิกดูใต้พรมว่าบริเวณนั้นเป็นสนิมหรือไม่ตลอดทั้งควรดูบริเวณใต้เบาะที่นั่งด้วย 

-  ตรวจสอบประตูและหน้าต่างกระจกทุกบาน ตรวจดูว่าประตูแต่ละบานสึกหรอหรือผ่านการใช้งานหนักมาแค่ไหน ขอบบนประตูด้านคนขับซึ่งมักจะเป็นที่พักท้าวแขนคนขับนั้น สีซีดหรือสึกไปแค่ไหน อย่าลืมตรวจดูมือจับด้านใน ว่าผ่านการใช้งานมาแค่ไหน ตัวเลขกิโลบนหน้าปัทม์สัมพันธ์กับสภาพของรถหรือไม่ ถ้าหากต่ำผิดปกติอาจหมายถึง รถถูกใช้มาจนตัวเลขกิโลเมตรครบรอบมาแล้ว หรือมีการแก้ไขเลขวัดระยะทางมาก่อนแล้วก็ได้ ทดสอบหน้าต่าง ทุกบานไม่ว่ากระจกหน้าต่างจะเปิด/ปิด ด้วยระบบไฟฟ้าหรือไม่กระตาม ให้ทดลองเปิดประตูทุกบานว่าเปิด/ปิด คล่องหรือไม่ มีบานใดค้างไม่สามารถเปิด/ปิดได้หรือไม่ นอกจากนี้ให้ตรวจสอบว่าที่นั่งสามารถเลื่อนเดินหน้า ถอยหลังได้อย่างที่ควร 

-  ตรวจสอบรอบหยดน้ำจากวัสดุบุใต้หลังคา หากมีรอยคราบน้ำตามวัสดุบุใต้หลังคา ให้สันนิศฐษฐานไว้ก่อนว่า รถคันดังกล่าวมีการรั่วซึมของน้ำจากหลังคา ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากหลังคาผุเนื่องจากสนิม 

          ทีนี้เมื่อเราตรวจสอบภายในแล้วเราก็มาตรวจสภาพภายนอกตัวรถกันบ้าง ดูรอบๆ ตัวรถ แล้วก้มลงดูว่าตัวรถขนานกับพื้นถนน ในระยะที่เท่ากันหรือไม่..หรือสูงต่ำไปข้างใดข้างหนึ่ง หรือเอียงไปข้างหนึ่ง นั่นแสดว่าช่วงล่างมีปัญหาแน่นอน เดินตรวจสอบรอบๆ ตัวรถในที่สว่างๆ สังเกตุรอบบุบ ระยะห่างของอุปกรณ์ต่างๆ ไฟหน้า ไฟหลัง กันชนหน้า กันชนหลัง ระยะห่างของอุปกรณ์เท่ากันหรือไม่ ถ้าไม่เท่ากันให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่ารถคันดังกล่าวได้รับอุบัติเหตุ มาแล้ว และมีการเปลี่ยนอุปกรณ์ดังกล่าว 

-  ขั้นต่อมาสังเกตุดูละอองสี ว่ามีละอองสีติดที่หนึ่งที่ไดหรือไม่ ส่วนมากแล้วรถที่ทำสีใหม่ จะมีละอองสีติดอยู่ เช่นใต้กันชนหน้า กันชนหลัง ดูรางน้ำฝน สังเกตุการผุกร่อน ดูช่องไฟระหว่างขอบประตู หน้าต่างต้องมีความสม่ำเสมอ ไม่ชิด ไม่ห่างไปข้างใด ข้างหนึ่ง 

-   ให้สังเกตุไฟหน้า-ไฟท้าย ไฟเลี้ยง ไฟถอย ว่ามีความสว่างเท่ากันหรือไม่ ไฟซ้ายไฟขวาเก่าใหม่ต้องเท่ากันหรือไม่ หัวนอตฝาครอบต้องไม่เยิน เปิดฝากระโปงหน้ารถ ให้สังเกตุดูว่ามีรอยเชื่อมหรือรอยอ๊อกหรือไม่ ดูหม้อน้ำ ถ้าเกิดการชนมา หม้อน้ำจะใหม่ เข็มขัดหม้อน้ำ พัดลมหม้อน้ำต้องเป็นของเก่า ดูสายพานไดชาจน์-แอร์ เบ้าหัวเทียน ดูตรงเบ้าซอฟเบอร์ โช๊คอัพ ถ้ามีการทำสีหรือรอยซ่อม จะต้องมีการชนมาอย่างรุนแรง ดูว่ามีลอยหยดน้ำมันตรงที่รถจอดหรือไม่ เพราะการเปลี่ยนประเก็นใหม่ อาจต้องเสียเงินมากพอสมควร จะไม่คุ้มกับคุณที่จะซื้อรถคันนั้นไป 

-  ปิดฝากระโปงหน้า แล้วลองดึงสลักเปิดฝากระโปรง ว่ามีการดีดตัวดีหรือไม่ ถ้าไม่มีการดีดตัวของฝากระโปง ที่ดี รถคันนั้นผ่านการซ่อมมาอย่างแน่อน 

-  ตรวจสอบรอบตัวรถให้ละเอียดโดยการจดบันทึก ว่ามีรอบบุบ รอยขีด หรือรอยสนิมหรือไม่ สังเกตุสีของรถยนต์ ว่าลักษณะสีกลมกลืนกันหรือไม่ ถ้าลักษณะของสีรถไม่มีความกลมกลืนกัน หรือเนื้อสีของตัวถังไม่เหมือนกัน ให้สันนิศฐานไว่าก่อนว่า รถคันดังกล่าวเกิดอุบัติเหตุและทำสีรถใหม่ 

-  ตรวจสอบโช๊คอัพ โดยกดที่มุมรถว่ามีการยุบของโช๊คอัพ แล้วค่อยๆเด้งคืนตัวของโช็คอัพหรือไม่ ถ้ากดลงไปแล้ว โช๊คอัพเด้งขี้นทันที ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า โช๊คของรถคันดังกล่าวเริ่มเสียแล้ว 

-  ตรวจสอบช่วงล่างด้วยการก้มลงไปดูใต้ท้องรถ สังเกตุแชสซี ว่ามีรอยต่อเติม หรือรอยเชื่อมต่อของเหล็กหรือเปล่า ถ้ามีให้สันนนิษฐานไว้ก่อนว่ารถยนต์คันดังกล่าวเกิดอุบัติเหตุมาแล้ว 

-  ตรวจสอบใต้ท้องรถให้ละเอียด สังเกตุว่ามีคราบน้ำมัน หรือรอยรั่วซึม หรือไหลเยิ้มของน้ำมันในส่วนต่างๆ หรือเปล่า ถ้ามี ชิ้นส่วนนั้นย่อมเกิดการชำรุด ซึ่งจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงหรือเปลี่ยนชิ้นส่วนนั้นๆ 

-  และที่สำคัญ เครื่องยนต์ ปัญหาที่พบมากที่สุด หากเป็นไปได้ ควรให้ผู้มีความรู้ไปช่วยดูเป็นเพื่อน เพราะเนื่องจากเครื่องยนต์เป็นของที่ต้องใช้กันทุกวัน หากมีปัญหาจุกจิก อาจทำให้ท่านเสียเงินในการซ่อมบำรุง หรืออาจต้องวางเครื่องใหม่  เพราะอะไหล่อุปกรณ์แต่ละชิ้นนั้น ค่อนข้างแพงพอสมควร และที่สำคัญกว่านั้น ท่านควรเลือกรถยนต์ยี่ห้อที่เค้าใช้กันแพร่หลายในท้องตลาด อย่าไปเลือกรถยนต์รุ่นที่ถูกใจอย่างเดียว เพราะปัญหาที่ตามมาอีกอย่างที่น่าหนักใจคือ อะไหล่หายากมาก และหากเป็นรุ่นที่หายากนั้นก็จะมีราคมแพงมาก อีกด้วย

-  สุดท้ายแล้ว การจะเลือกรถยนต์มือสอง ก็ต้องให้ถูกใจคนขับ ก็ทดลองขับกันดูว่าเข้าไปนั่งแล้วรู้สึกมีความสุขหรือเปล่า อึดอัดมั้ย สบายใจหรือไม่ และสิ่งที่ฝากสุดท้าย ควรเลือกดูทะเบียนรถสักนิดว่ามันเป็นรถยนต์ที่มีโอกาสในการเกิดอุบัติเหตุมากน้อยเพียงใด ของแบบนี้ไม่เชื่ออย่าลบหลู่  รถยนต์ที่มีโอกาสที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุก็คือรถยนต์ที่ บวกรวมกันแล้ว ได้เลข 13 เป็นต้น สำหรับสีนั้น ก็เลือกได้ตามความพอใจของแต่ละท่านแต่สีอะไรก็ไม่ดีเท่า  "สีทนได้"

ก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะทำให้ท่านได้รถยนต์ดีๆ ราคาถูกมาไว้ใช้งานกันนะคะ
เกร็ดความรู้
- เมื่อขับรถตกน้ำควรทำอย่างไรดี [19 พฤศจิกายน 2553 17:13 น.]
- อายุของยาง…เป็นเพียงตัวเลขหรือความเชื่อ? [19 พฤศจิกายน 2553 17:13 น.]
- ซื้อรถมือสองอย่างไรไม่ให้โดนย้อมแมว [19 พฤศจิกายน 2553 17:13 น.]
- 32 สุดยอดเทคนิคสำหรับผู้ใช้รถ [19 พฤศจิกายน 2553 17:13 น.]
- ติดสปอยเลอร์โก้เก๋ดีอย่างไร [19 พฤศจิกายน 2553 17:13 น.]
- อบอุ่นร่างกายให้กับรถยนต์ด้วยการ “วอร์มเบต” [19 พฤศจิกายน 2553 17:13 น.]
- รถป้ายแดง ต้องปฏิบัติตัวอย่างไร [19 พฤศจิกายน 2553 17:13 น.]
- มือใหม่หัดขับต้องทำอย่างไร [19 พฤศจิกายน 2553 17:13 น.]
- ออกรถใหม่ วันรับรถต้องเช็คอะไร [19 พฤศจิกายน 2553 17:13 น.]
- การกระตุกตัวถัง [19 พฤศจิกายน 2553 17:13 น.]
ดูทั้งหมด

  แสดงความคิดเห็น

ตัวหนา ตัวเอียง ตัวขีดเส้นใต้ ตัวขีดกลาง ชิดซ้าย กึ่งกลาง ชิดขวา รูปภาพ ลิ้งก์ ขนาดต้วอักษร สีต้วอักษร

ชื่อ: *
E-mail : *
ไม่ต้องการแสดง Email
รหัสตรวจสอบ : Security Image
* กรุณากรอกรหัสที่อยู่ในรูป

Copyright © 2008 All Rights Reserved.by
thaiwebber.com